วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เสียดาย? เสียของ?

จากอาทิตย์ที่แล้วได้ประเด็นเรื่องไส้ดินสอที่เหลือมันทำอะไรได้บ้าง
ก็ทดลองต่างๆนาๆออกมาเป็นงานดรออิ้งกับการสร้างกราฟฟิกกับดินสอ
ดูเหมือนจะได้กระบวนการทำงานแล้วแต่ยังขาดmessegeที่จะสื่อออกมา

คราวนี้ก็ลองคิดกลับกัน แทนที่จะคิดว่าไส้ที่เหลือมันทำอะไรได้
ก็คิดว่าถ้าขาดไส้ที่เหลือมันจะเป็นยังไง?
เลยลองทำงานออกมาชิ้นนึง



ก็พยายามจะสื่อว่าสมมติว่าดาวินชี่ใช้ดินสอกดวาดโมนาลิซา
แต่ดันมีไส้อยู่เส้นเดียว กำลังจะวาดเสร็จแล้วแต่ไส้ดันหมดก่อน
ภาพเลยวาดไม่เสร็จ กลายเป็นว่าความสวยงามของภาพก็ขาดหายไป
เพราะไส้ดินสอไม่พอ ซึ่งที่จริงแล้วยังเหลืออีก1.5cmที่ยังไม่ได้ใช้
แ่ต่เอาออกมาใช้ไม่ได้ มันน่าเสียดายไหม?

ตอนนี้ยังรู้สึกว่าำไอเดียยังแข็งๆอยู่
ก็คงต้องหาวิธีจับmessegeมารวมกับtechniqueให้ได้

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

1/4 what a waste!

After I've research about pencil's lead,
I found that only 75% of the lead’s length in lead pencil
is utilized and the rest of 25% becomes wasted.
Because of poor lead holding mechanism in lead pencil
that need length of lead to keep the lead steady.

Normally, each lead has 6 cm length so 1.5 cm gets wasted.
What's 1.5 cm lead can do? Certainly, it can be used to write
and draw but how long it can do?

This is the sample that I've test from filling black
into 21x12.5cm paper.

This is sort of common test but it show you some space
that 1.5 cm lead can do, then imagine of a ton of lead.

At the beginning, I've decide to design lead pencil that
reduce wasted of lead. But this idea may be done by
several groups such as UMO. Then I think that I may
design graphic that communicate the wasted of lead
or something. I don't sure that it's a nice idea so I'll
present it in this week's class.

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Lead wasting Leader

เห็นชื่อเรื่องคงจะงงกันว่ามันคืออะไร
Lead wasting Leader แปลควายๆก็แปลว่า ผู้นำการสิ้นเปลืองตะกั่ว
แล้วมันคืออะไรอ่ะ? เอ้ามาดูกัน

หลังจากอาทิตย์ที่แล้วแป๊กไปแล้วกับพฤติกรรมของคน
ก็เคยคิดใหม่ทำใหม่หาอะไรที่มันจับต้องได้เป็นชิ้นเป็นอันมาทำดีกว่า
ซึ่งนั่งคิดอยู่หลายวันทีแรกว่าจะทำกราฟฟิกที่ใช้พลังงานลม
ไม่ก็screensaverประหยัดไฟ แต่ดูแล้วมันยังไงไม่รู้เหมือนมีคนทำแล้วด้วย
กลิ้งไปกลิ้งมาก็ไปเจอมรดกจากการเรียนศิลปกรรมมา3ปี ซึ่งก็คือ
"ดินสอเหลือๆ" ก็คิดได้ว่าเออพวกนี้แหละตัวสิ้นเปลืองเลยใช้ไม่หมดก็ทิ้ง
ไหนจะพวกไส้ดินสอที่ค้างอยู่ที่ปากดินสอกดที่ทำยังไงก็เอามาใช้เขียนไม่ได้
ยังไม่รวมถึงพวกยางลบปลายดินสอทั้งหลายที่พอจมปลอกก็ใช้ลบไม่ได้แล้ว
ลองคุ้ยๆหาในห้องดูก็ได้ของเหลือใช้มาประมาณนี้


จริงๆบางแท่งก็ยังใช้ได้อยู่แต่ไม้ก็ผุหมดแล้วกดนิดหน่อยก็หักละ
ถึงมันจะมีปลอกดินสอช่วยต่อความยาวให้ใช้เขียนได้ก็เถอะ
แต่จริงๆแล้วมันก็ยังเหลือเศษที่ใช้ไม่ได้อยู่ดีนั่นละ

ทีนี้ก็เกิดปัญหาที่ว่าจะมีวิธีอะไรที่จะเอาเศษเหลือใช้พวกนี้ไปทำประโยชน์
นอกจากการรีไซเคิลคงไม่ใช่การคิดประยุกต์ให้มันใช้เขียนได้แน่ๆ
ตอนนี้ก็พยายามคิดวิธีเล่นของเหลือใช้พวกนี้ให้เกิดความคุ้มที่สุด
เพราะยังไงของพวกนี้มันก็เป็นผลผลิตจากการทำงานของศิลปินอย่างเราๆ

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Putty Return

กลับมาอีกครั้งหลังจากหายไปในช่วงฝึกงานหน้าร้อน
ปีการศึกษาที่ผ่านมาก็ผ่านมาได้ด้วยดี
เริ่มปีการศึกษาใหม่ก็กลับมาใช้ชีวิตนักศึกษา(ที่รู้สึกซีเรียสขึ้น)อีีกครั้ง
ในที่สุดการเดินทางของเหล่าว่าที่นักออกแบบก็ดำเนินมาถึงทวีปสุดท้าย
คือCommunication Design V (หวังว่าจะไม่ใช่Vendetta)
เหล่าว่าที่นักออกแบบจะอัญเชิญพระไตรปิฎกกลับไปได้รึไม่ก็ต้องคอยดูกันต่อไป

หลังจากที่ได้ดู Paving the Way ของ PBS มาก็เกิดประเด็นในหัวหลายอย่าง
เช่น การประหยัดพลังงาน การใช้ให้คุ้ม พฤติกรรมผู้บริโภค ความเกินความจำเป็น
ที่ดูจะเกิิดความสนใจมากที่สุดเห็นจะเป็น พฤติกรรมของผู้บริโภคและความเกินพอดี

ยกตัวอย่างเช่น เวลาเข้า7-11ไปซื้อน้ำขวดนึงเนี่ยก็ไม่รู้ว่าจะเอาถุงไปทำไม
จะว่ามันหิ้วง่ายกว่าก็นะ แค่ถือขวดขวดเดียวมันจะตายเอามั๊ย บางคนอาจจะรู้สึกตัว
ว่าไม่ต้องเอาถุงก็ได้ แต่รู้สึกตัวอีกทีคุณพนักงานก็เอาของยัดใส่ถุงเดียวหมดแล้ว
(ทั้งของร้อนของเย็น) มันก็เข้าประเด็นเรื่อง "การที่รู้อยู่แล้ว ..แล้วยังไงล่ะ?"
รู้ทั้งรู้ว่าการทำอย่างโน้นอย่างนี้มันเป็นการสิ้นเปลืองนะ แต่ก็ไม่ได้ใส่ใจปล่อยให้มัน
ผ่านๆไปคิดซะว่าเราคนเดียวทำไปก็ไม่เกิดอะไรขึ้นมาหรอก หรือการเข้าใจวิธีประหยัด
พลังงานแบบผิดๆก็เ่ช่นเดียวกัน แคมเปญรณรงค์หลายๆอันมักจะเกิดปัญหาที่ว่านี้เสมอ
คือผู้บริโภคไม่เกิดความรู้สึกที่จะทำตามหรือเข้าใจผิด อาจเป็นเพราะสื่อสารกับผู้บริโภค
ได้ไม่ดีพอ ก็เกิดความคิดที่ว่าน่าจะลองทำแคมเปญรณรงค์ที่สามารถกระตุ้นให้ผู้บริโภค
สนใจการประหยัดพลังงานได้จริงๆจังๆสักอัน อาจจะออกแนวกวนๆกัดผู้บริโภคสักหน่อย
เพราะคิดว่าแบบนั้นน่าจะทำให้จดจำได้ดีกว่า แนวช่วยโลก ที่เห็นๆกันอยู่ทั่วไป

ก็... จะน่าสนใจมั๊ยเดี๋ยวในชั้นเรียนก็ลองว่ากันอีกที

To be Continued...

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551


เชื่อว่าหลายๆคนคงมีงานอดิเรกคล้ายๆผม คือ ถ่ายรูปท้องฟ้า
ปกติผมจะชอบแหงนหน้ามองท้องฟ้าอยู่แล้วแต่ไม่มีกล้องถ่าย
ไหนๆยืมกล้องจากเพื่อนมาแล้วก็ถือโอกาสถ่ายซะเลย
ส่วนตัวคิดว่าท้องฟ้านับว่าเป็นงานศิลปะธรรมชาติที่สวยงามมากอย่างนึง
โดยเฉพาะท้องฟ้าสีครามและเมฆสีขาวที่ก่อตัวเป็นก้อนอย่างสวยงาม
(ในรูปยังไม่ค่อยเป็นก้อนดีนัก) มันเป็นงานศิลปะที่เกิดขึ้นครั้งเดียว
เมื่อผ่านไปแล้วไม่สามารถสร้างขึ้นมาให้เหมือนเดิมได้
แต่มันก็ทำให้ไม่รู้สึกเบื่อที่จะแหงนหน้ามองท้องฟ้าในแต่ละวัน

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับงานที่ทำอยู่ตอนนี้ล่ะ?

ก็ไม่เกี่ยวน่ะเซ่~

งานจะออกมาเข้าท่ามั๊ยพรุ่งนี้ได้รู้กัน

นานเพียงใดแล้วที่คุณไม่ได้เงยมองหน้าแหงนดูฟ้าว่ามันสวยงดงามแค่ไหน?

อา~ดูนั่นสิแสงส่องชี้ทางสว่างมาจากหลังก้อนเมฆ

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551

MaMi-cro

นานแล้วหลังจากที่ไม่ได้อัพบล็อกวันนี้ก็เอาสักหน่อย

หลังจากสิ้นสุดการเดินทางในโปรเจคที่แล้วไป
พวกเราก็เริ่มต้นการเดินทางครั้งใหม่กัน
โดยหวังว่าครั้งนี้เราจะได้ผลสำเร็จกลับมากับเราด้วย

เมื่อสองวันก่อนหลังจากที่ได้รับคีย์เวิร์ดมาสองคำ
คือ "macro" และ "micro" ก็ได้มานั่งคุยกันว่า
ไอ้สองคำนี้มันคืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร
เบื้องต้นก็ได้รู้ว่ามันหมายถึง "ขนาดใหญ่" และ "เล็กมาก"
ก็สงสัยว่ามันต่างจาก Big และ small หรือ large และ tiny ยังไง
คุยกันอยู่แปบเดียวก็เข้าใจทันทีว่ามันค่อนข้างจะต่างกันมาก

คุยไปคุยมาก็ได้ความว่าประเด็นและนัยสำคัญของสองคำนี้
ค่อนข้างกว้า่งมากๆมันแล้วแต่ว่าใครจะมองตรงไหน
แต่สิ่งนึงที่สำคัญคือ พวกเราคิดว่าสองคำนี้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้
หมายถึงหากพูดถึงคำหนึ่ง ก็จะมีความเกี่ยวข้องกับอีกคำหนึ่งอย่างเลี่ยงไม่ได้
มันต้องไปพร้อมกันเหมือนรางรถไฟ


นั่นก็เป็นบางสิ่งที่ได้จากการไปคุยกันมาครั้งนึง
ถึงเวลาที่แต่ละคนจะกลับไปอยู่กับ micromacro ของตัวเอง
ก็อาจจะมานั่งคุยกันอีกทีในคืนวันจันทร์เผื่อจะได้อะไรมากขึ้นอีก

วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550