วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Lesson II: Photomontage and Russian Constructivists

แปลเป็นไทยก็คือ ศิลปะภาพตัดต่อด้วยรูปถ่าย และ กลุ่มศิลปินconstructivists

สืบเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละสามคนและกำหนดหัวข้อให้กลุ่มละหนึ่งหัวข้อแล้วให้ไปศึกษาหัวข้อนั้นมา ซึ่งกลุ่มพวกเราก็ได้หัวข้อที่ว่ามาข้างต้นเมื่อได้รับงานมาเรียบร้อยแล้ววันต่อมาพวกเราก็ไปห้องสมุดเพื่อหาข้อมูลกัน หนังสือที่เลือกมาคือ 'Photomontage A Step- by-Step
Guide to BuildingPictures'-STEPHEN GOLDING, 'RUSSIAN CONSTRUCTIVISM'-CHISTINA LODDER ส่วนเล่มอื่นจำชื่อไม่ได้แล้วเพราะคืนไปแล้ว เพราะเป็นภาษาอังกฤษทั้งเล่มอ่านไปไม่กี่หน้าก็เล่นเอามึนก็เลยไปหาข้อมูลจากอินเตอร์เนตเพิ่มเติมเช่น wikipedia, google ซึ่งไม่ค่อยจะเจอเนื้อหาภาษาไทยเลยก็ต้องมาเปิดดิกแปลฉบับอังกฤษกัน(แปลกันตาย)

ก่อนอื่นก็ต้องพูดถึงConstructivismและConstructivistsก่อน Constructivismก็คือกลุ่มขบวนการทาง
ศิลปะที่เกิดขึ้นในรัสเซียหลังสงครามโลกครั้งที่1 ที่สนใจในวิทยาการและเทคโนโลยี ยอมรับค่านิยมของผู้บริโภคและบทบาทความเคลื่อนไหวของระบบเศรษฐกิจวัสดุ มักนำเอาวัสดุที่ใช้ในระบบอุตสาหกรรมมาสร้างเป็นผลงานในเชิงนามธรรม ส่วนConstructivistsก็คือคำที่ใช้เรียกศิลปินในกลุ่มนี้ กลุ่มConstructivismนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปี1919เป็นต้นมา ซึ่งผู้ที่คิดคำนี้ขึ้นมาใช้คือ Naum Gabo และAntoine Pevsner โดยคำนิยามของConstructivismคือ การรวมกันระหว่างfaktura (คุณลักษณะทางสสารของวัตถุ)และ tektonika(การมีอยู่ของบริเวณว่าง) ซึ่งงานในช่วงแรกๆนั้นจะเป็นงาน3มิติ ภายหลังจึงขยายมาสุ่งาน2มิติ เช่นพวก โปสเตอร์ และ หนังสือ ซึ่งก็จะไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะพูดต่อไปก็คือ photomontageนั่นเองครับ

Photomontageก็คือ การสร้างรูปถ่ายโดยการตัดต่อบางส่วนของรูปถ่ายหลายๆรูปมาประกอบกันเป็นภาพ
ใหม่ ซึ่งบางครั้งรูปจะถูกนำมาถ่ายใหม่อีกครั้ง งานที่ได้จึงมักจะไม่มีรอยต่อของภาพ ก็คล้ายๆกับโปรแกรมตัดต่อภาพหรือPhotoshopที่เราใช้ๆกันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง โดยศิลปินในกลุ่มConstructivismนั้นเป็นพวกแรกๆที่ริเริ่มการใช้เทคนิกนี้เช่นงาน 'Lenin and Electrification' ของ Gustav Klutsis งานของกลุ่มนี้จะแตกต่างจากของกลุ่มDadaismตรงที่งานของDadaนั้นจะแสดงถึงการทำลายมากกว่า


พูดเรื่องที่เป็นหัวข้อนำเสนอไปแล้วคราวนี้มาต่อนอกเรื่องบ้าง ตอนที่ศึกษาข้อมูลConstructivistsก็ไปเจองานที่น่าสนใจงานนึงคืองาน Black Square ของ Kazimir Malevich



บางคนสงสัยว่ามันยอดเยี่ยมตรงไหน งานนี้ความยอดเยี่ยมไม่ได้อยู่ที่ตัวภาพครับ แต่ความพิเศษของมันอยู่ที่ตำแหน่งการวางงานเพื่อเสนองานของKazimir ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า บ้านของพวกนับถือศาสนาในรัสเซียนั้นตรงบริเวณมุมห้องติดระเบียงจะมีการวางรูปสลักของพระเยซูคริสต์อยู่ ซึ่งห้องที่จัดแสดงงานของKazimirนั้นก็เป็นห้องแบบที่ว่า และKazimirได้นำงานนี้ไปตั้งไว้ตรงมุมห้อง ขณะที่รูปสลักพระเยซูที่ถูกตรึงกางเขนอยู่นั้นได้ก้มหน้าลงเบื้องล่างทำให้ดูเหมือนพระองค์กำลังจ้องมองงานของKazimir อยู่ ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่างานชิ้นนี้ยอดเยี่ยมขนาดพระเจ้ายังต้องเหลียวมองอะไรประมาณนั้น จากตัวอย่างนี้ทำให้เห็นว่าบางครั้งการถ่ายทอดความคิดผ่านผลงานก็ไม่จำเป็นต้องมีความหมายอะไรในผลงานมากนักมันขึ้นอยู่กับวิธีนำเสนอให้ผู้รับชมเกิดความคิดมากกว่า

สำหรับสัปดาห์นี้พอเพียงเท่านี้ก่อนแล้วกันเกิดมาเพิ่งจะเคยอัพblog
เอาไว้ค่อยๆศึกษาไปเรื่อย แล้วจะทำให้ดีขึ้นกว่านี้ครับ

1 ความคิดเห็น:

//Chatnarong Jingsuphatada// กล่าวว่า...

เปลี่ยนรูป เมิงด่วน ขอร้อง