วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2550

Lesson VI : It's about "Definition"

ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รายงานความคืบหน้ามานานมากแล้ว
ครั้งที่แล้วดันลืมว่าวันจันทร์ต้องไปเพชรบุรีกับคณะ
เลยกลับมาอัพเดทบล็อคไม่ทันแล้วก็ลืมอัพไปเลย :P

ครั้งนี้ก็จะมารายงานความคืบหน้าของโปรเจค
จากที่ลองคิดวิธีสร้างโครงสร้างร่วมของงานหลายๆงาน
ไม่ว่าจะลองสร้างcompositionโดนการกำหนดระยะห่าง
ของวัตถุแต่ละชิ้นไว้ตายตัว หรือ ทำรูปถ่ายหรือIllust
โดยให้แต่ละภาพมีจุดร่วมเช่น ทุกคนในภาพใส่เสื้อมีกระดุม
เหมือนกันหมด หรือ ทุกภาพต้องมีนาฬิกา แต่ดูเหมือนว่า
มันจะหาสาระไม่ค่อยได้ยังไงไม่รู้ คล้ายว่าจะบังคับคนดู
เกินไปอะไรแบบนั้น เลยคิดขึ้นมาว่าต้องตัดสินใจว่าจะ
"ซ่อน" โครงสร้างหรือ เปิดเผยให้ผู้ชมเห็น

ก็เลยลองไปหาอะไรๆในห้องสมุดดูเพิ่มเติม
ก็ไปเจอพวกหนังสือออกแบบที่ชื่อว่า
The International Design Yearbook ของปีต่างๆ
ซึ่งรวบรวมงานออกแบบของดีไซเนอร์หลายๆคนของ
แต่ละปีไว้ พอเอามาลองเปิดดูก็เห็นงานออกแบบพวก
เก้าอี้ โต๊ะ เครื่องเรือนต่างๆ ที่ดูแปลกๆ ก็คิดขึ้นมาได้ว่า
เออ ถ้าพูดถึงโครงสร้างลองกลับไปดูพวกงาน3มิติ

เหมือนตัวอย่างที่เคยบอกไปว่า หมากรุก ตัวคิงหมายถึง
หมากที่เดินได้8ทิศ แต่ไม่ได้หมายถึงตัวหมากที่มีรูปลักษณ์
ทรงสูงมีกางเขนบนยอด ก็ลองมาคิดว่า เก้าอี้ มันคือสิ่งที่
นั่งได้โดยไม่ล้ม แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องมี 4 ขา
หรือนาฬิกาก็คือสิ่งที่ใช้บอกเวลา แต่ไม่จำเป็นต้องมีเข็ม
สำหรับบอกเวลาหรือตัวเลข

ทีนี้ก็เลยลองมาเขียนๆดู


พยายามยังไงมันก็ยังดูธรรมดาๆไม่มีอะไรน่าสนใจ
ที่คิดไว้ก็คือ อยากได้งานที่มันดูแล้วรู้ว่าเป็นอะไร
(เพราะข้อกำหนดที่ถูกกำหนดไว้ว่าสิ่งนี้เป็นอะไร
เช่น คุณสมบัติว่านั่งได้ วิ่งได้ จึงทำให้จำได้ว่า
สิ่งนี้มันใช้งานอย่างนี้นะ) แต่ด้วยรูปลักษณ์ที่ไม่ได้้
กำหนดตายตัวว่า เก้าอี้้ต้องมีขา หรืออื่นๆ ก็พยายาม
สร้างสิ่งที่ดูไม่เหมือนต้นแบบของมันแต่ก็ยังเป็นสิ่งนั้นอยู่

ซึ่งคิดไปคิดมามันก็คล้ายๆกับคำว่า"นิยาม"ของสิ่งหนึ่งๆ

ไม่มีความคิดเห็น: