วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550

misc : Environmental Graphic

วันนี้ไปห้องสมุดแล้วไปยืนเปิดๆหนังสือบนชั้นดูเผื่อจะเจอ
อะไรมาใช้ทำงาน แล้วก็ไปเจอทฤษฎีที่น่าสนใจในหนังสือ



โดยไปเจอทฤษฎีเกี่ยวกับการมองของมนุษย์ซึ่งนำ
มาใช้กับการออกแบบกราฟฟิกเช่น
ว่าด้วยขนาดของมนุษย์
ตามปกติถ้าวัตถุมีขนาดเท่ากับตัวคน วัตถุนั้นจะไม่มี
ความน่าสนใจเป็นพิเศษ กลับกันถ้าหากวัตถุมีขนาด
ใหญ่ หรือ เล็ก กว่าตัวคน จะทำให้วัตถุนั้นดูน่าสนใจ
ขึ้นมา วัตถุที่เล็กกว่าตัวคนจะถูกอิทธิพลจากขนาด
ของตัวคนและทำให้เกิดความรู้สึกส่วนบุคคล วัตถุที่
มีขนาดเล็กมากๆนั้นจะดูมีค่าเหมือนอัญมณีเป็นต้น
ส่วนวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวคนนั้นจะมีอิทธิพลต่อ
ขนาดของตัวคนทำให้รู้สึกถึงความโอ่อ่า ดูยิ่งใหญ่
เช่น เทวรูปหรืออนุสาวรีย์
สิ่งที่ใช้สำหรับสื่อสารกับคนๆเดียว(เช่นป้ายบอกราย
ละเอียดของงานศิลปะ)มักมีขนาดที่เล็กกว่าสิ่งที่ใช้
สำหรับสื่อสารกับคนหลายคน(เช่นป้ายรถประจำทาง)

มนุษย์นั้นมีระยะการมองเห็นเป็นรูปโคนกว้างประมาณ
15องศาไปข้างบนและล่าง(ตามทฤษฎี)ซึ่งสิ่งที่อยู่นอก
โคนหรืออยู่ในโคนแต่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับพื้นที่
ในการมองจะถูกมองข้ามได้ง่าย แต่ถ้าวัตถุมีขนาดใหญ่
และอยู่ในพื้นที่การมองวัตถุนั้นจะมีประสิทธิภาพในการ
สื่อสารกับผู้รับสารได้ดีกว่า ทั้งนี้การมองหรืออ่านสิ่งที่อยู่
นอกองศาการมองปกตินั้นจะทำได้ไม่สะดวกยกเว้นว่า
สิ่งนั้นจะทำมุมพอดีกับทิศทางการมองของผู้รับสาร

การมองเห็นของเด็กใช้ทฤษฎีเดียวกันกับของผู้ใหญ่แต่
แตกต่างกันตรงที่ของเด็กนั้นต้องย่อขนาดลงมาให้เหมาะสม
กับขนาดของเด็กด้วย และเด็กจะมีความยืดหยุ่นของทิศทาง
การมองมากกว่าผู้ใหญ่ และเด็กมักจะสนใจสิ่งที่มีขนาดใหญ่
กว่าตัวเองเสมอ

ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์ในการออกแบบอะไร
หลายอย่างเพราะมันเป็นพื้นฐานทั่วไปที่เราอาจมองข้ามมันไป

จริงๆควรมีรูปประกอบด้วยแต่เนื่องจากไม่ได้ถ่ายรูปเก็บไว้
เพราะตอนอ่านนั่งจดลงสมุดมารูปเลยทุเรศไปหน่อย
ไว้จะมาลงรูปให้ใหม่ทีหลังแล้วกันครับ

ไม่มีความคิดเห็น: