เอ่อ...อ่า...จะว่ายังไงดี
สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมาประเด็นที่นำไปพูดในชั้นรู้สึกจะลอยไปไกล
เกินไปหน่อย กะว่าจะเอาวิธีคิดและปฎิบัติของดีไซเนอร์สมัยนั้น
มาใช้ในงานไปๆมาๆกลายเป็นอะไรไปก็ไม่รู้
คิดไว้เยอะนะแต่พอออกไปพูดเรียงลำดับไม่ค่อยจะถูกเป็นแบบนี้ทุกที
ตอนนี้ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเอาอะไรมาดี ปกติก็เป็นแบบนี้แหละ
ชอบเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา คราวที่แล้วตอนออกไปบรรยายหน้าชั้น
ก็มีรุ่นพี่ในกลุ่มเดียวกันเสนอความเห็นของเค้าออกมายาวเลย
ฟังไม่ค่อยจะทันเหมือนกันแต่สะกิดเรื่องการใช้วัสดุ
อืม..มันก็ตรงจุดเรื่องconstructกับphotomontageเหมือนกันนะ
แต่เราดันไปเก็บเศษเล็กเศษน้อยของกลุ่มอื่นมารวมๆ
พอพูดถึงเรื่องวัสดุก็นึกขึ้นว่าตอนที่พวกconstructมันเริ่มสร้างงาน
โดยคิดใช้วัสดุใหม่ๆมาสร้างงานศิลปะ ทำไมถึงไปเลือกเหล็กและไม้
ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเพราะมันเป็นวัสดุจากอุตสาหกรรมแถมมัน
ค่อนข้างแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักของตัวงานได้มากกว่าวัสดุอื่นๆ
แล้วทำไมถึงไม่คิดจะเอากระดาษหรือผ้าที่ใช้วาดๆกันอยู่มาทำงาน
บ้างล่ะ? นึกถึงสมัยนี้ก็เช่นงานประติมากรรมกระดาษหรือเรียกอีกอย่าง
ว่าPapercraft งานแบบนี้เริ่มทำกันมาตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่รู้ เริ่มแรกก็พับ
เป็นรูปง่ายๆเช่น เรือ เครื่องบิน นก
ภายหลังก็เริ่มเห็นทำเป็นรูปร่างที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ส่วนตัวแล้ว
ผมไม่ชอบงานกระดาษที่ต้องขยำๆให้เป็นรูปร่างมันดูเหมือนปั้น
มากกว่าพับ จนสุดท้ายกลายเป็นงานแบบที่ใช้พิมพ์ภาพออกมา
แล้วนำมาตัดพับตามแบบ
งานแบบนี้อาจจะดูง่ายแต่จริงๆแล้วก็ต้องใช้ทักษะและความละเอียด
ในการพับอยู่พอสมควร(จากที่เคยลองทำมา) เมื่อกลายเป็นงานแบบนี้
ก็สามารถผลิตออกมาเป็นจำนวนมากได้่ ยิ่งทำออกมาก็ยิ่งมีความละเอียด
ขึ้นเรื่อยๆ งานก็ต้องการความชำนาญมากขึ้นด้วย
ทีนี้พอมาดูงานพวกนี้มันเป็นเหลี่ยมๆก็นึกไปถึงโครงสร้างของ
งาน3มิติของพวกโปรแกรมในคอมพิวเตอร์มันถือเป็นงานโครงสร้าง
ได้รึเปล่าหว่า? (= = ;)
ทีนี้ไอ้งานโครง3มิติในโปรแกรมพวกนี้ส่วนมากมันจะเอา
ไปทำงานCGที่เคลื่อนไหวได้ แต่กระดาษมันจะเคลื่อนไหว
ได้ยังไงล่ะ? มีหวังยับยู่ยี่แหงๆ ถ้าเราใส่ข้อต่อให้มันจะกลาย
เป็นว่าไม่ใช่งานPapercraftไปรึเปล่า?มันน่าจะมีวิธีทำให้มัน
ขยับได้โดยใช้เฉพาะกระดาษอย่างเดียว...
สรุปเหมือนว่ายังคิดอะไรไม่ค่อยออก อาจจะเคยชินกับการ
ถูกตั้งโจทย์มาเยอะไปพอไม่มีโจทย์ให้เลยคิดอะไรไม่ค่อยออก
ได้แต่คิดเรื่อยเปื่อยไม่มีจุดหมายยังไงไม่รู้ (- -" )
วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
misc : Throne Hall
วันจันทร์ที่แล้วได้ออกไปศึกษาศิลปะนอกสถานที่
โดยสถานที่ที่ไปมาคือพระที่นั่งอัมพรสถาน ภายในมีพระที่นั่งอื่นๆมากมาย
แต่ที่ประทับใจที่สุดคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม
ครั้งแรกที่เห็นก็ไม่ได้ถูกใจอะไรมากมาย เห็นแล้วก็นึกถึงทำเนียบขาวของสหรัฐ
แต่พอได้เข้าไปข้างในเท่านั้นล่ะ ไอ้ภาพจินตนาการตอนเรียนประวัติศาสตร์ศิลป์
วิ่งเข้ามาในหัวทันทีเหมือนตอนที่อ่านแฮรี่พอตเตอร์(คำเตือน:ไม่เคยอ่าน)หรือ
ลอร์ด ออฟ เดอะ ริง แล้วไปดูหนังยังไงยังงั้น
ข้างในสวยงามมากๆ ผมไม่เคยรู้สึกประทับใจกับสถาปัตยกรรมไหนๆมาก่อน
ไม่ว่าจะไปวัดมากี่แห่งก็ไม่เคยรู้สึกชอบใจกับความงามของมันเลย มีที่นี่ที่แรก
ที่ทำให้ผมรู้สึกยังงั้นได้ รู้สึกเหมือนขาดทุนที่อยู่กรุงเทพมาสามปีแต่ไม่เคยได้
มาดูอะไรที่สวยงามแบบนี้ ตึกทั้งหลังสร้างตามแบบตะวันตกในสมัยศิลปะ
เรอเนสซองค์ ประดับด้วยเสาและรูปนูนทั้งภายในและภายนอก แต่ข้างในตกแต่ง
ด้วยรูปวาดแบบศิลปะไทยที่นำเทคนิกการวาดแบบมีมิติลวงของเรอเนสซองค์มาใช้
ใช้การก่อโครงแบบวงโค้งมารับน้ำหนักของโดม
ตอนเรียนประวัติศาสตร์ศิลปะก็ดูภาพตามหนังสือแล้วจินตนาการเอา
แต่พอได้มาเห็นของจริงมันช่างดูน่าตื่นตาเหลือเกิน
นี่ถ้าได้ไปดูมหาวิหารซานปิเอโตรของกรุงวาติกัน
ที่มีลักษณะคล้ายกันนี่คงจะสวยงามมากๆ
ก็ได้แต่หวังว่าสักวันจะได้ไปเยี่ยมชมเมืองนอกกะเค้าบ้าง ตอนนี้ก็ชมนอกเมืองไปพลางๆก่อน
โดยสถานที่ที่ไปมาคือพระที่นั่งอัมพรสถาน ภายในมีพระที่นั่งอื่นๆมากมาย
แต่ที่ประทับใจที่สุดคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม
ครั้งแรกที่เห็นก็ไม่ได้ถูกใจอะไรมากมาย เห็นแล้วก็นึกถึงทำเนียบขาวของสหรัฐ
แต่พอได้เข้าไปข้างในเท่านั้นล่ะ ไอ้ภาพจินตนาการตอนเรียนประวัติศาสตร์ศิลป์
วิ่งเข้ามาในหัวทันทีเหมือนตอนที่อ่านแฮรี่พอตเตอร์(คำเตือน:ไม่เคยอ่าน)หรือ
ลอร์ด ออฟ เดอะ ริง แล้วไปดูหนังยังไงยังงั้น
ข้างในสวยงามมากๆ ผมไม่เคยรู้สึกประทับใจกับสถาปัตยกรรมไหนๆมาก่อน
ไม่ว่าจะไปวัดมากี่แห่งก็ไม่เคยรู้สึกชอบใจกับความงามของมันเลย มีที่นี่ที่แรก
ที่ทำให้ผมรู้สึกยังงั้นได้ รู้สึกเหมือนขาดทุนที่อยู่กรุงเทพมาสามปีแต่ไม่เคยได้
มาดูอะไรที่สวยงามแบบนี้ ตึกทั้งหลังสร้างตามแบบตะวันตกในสมัยศิลปะ
เรอเนสซองค์ ประดับด้วยเสาและรูปนูนทั้งภายในและภายนอก แต่ข้างในตกแต่ง
ด้วยรูปวาดแบบศิลปะไทยที่นำเทคนิกการวาดแบบมีมิติลวงของเรอเนสซองค์มาใช้
ใช้การก่อโครงแบบวงโค้งมารับน้ำหนักของโดม
ตอนเรียนประวัติศาสตร์ศิลปะก็ดูภาพตามหนังสือแล้วจินตนาการเอา
แต่พอได้มาเห็นของจริงมันช่างดูน่าตื่นตาเหลือเกิน
นี่ถ้าได้ไปดูมหาวิหารซานปิเอโตรของกรุงวาติกัน
ที่มีลักษณะคล้ายกันนี่คงจะสวยงามมากๆ
ก็ได้แต่หวังว่าสักวันจะได้ไปเยี่ยมชมเมืองนอกกะเค้าบ้าง ตอนนี้ก็ชมนอกเมืองไปพลางๆก่อน
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
Lesson III : Issue
สองอาทิตย์ที่ผ่านมาก็ได้คุยเรื่องของConstructivismไปมากพอสมควรแล้ว
ต่อจากนี้ก็จะหยิบยกประเด็นมาสักจุดเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อ
จากที่ได้ฟังเพื่อนๆกลุ่มอื่นพูดคุยนำเสนอหัวข้อของกลุ่มตัวเองมาสองอาทิตย์
เมื่อนำมารวมกับหัวข้อของPhotomontage&Constructivism
พบว่าเหมือนมันจะมีบางอย่างเชื่อมกัน เช่น
การตัดทอนสิ่งไม่จำเป็นออก(Bauhaus)
เรียบง่ายแต่มีไอเดีย(Push-Pin)
กฏแห่งความเรียบง่าย(John Maeda)
หรือ
ไม่อิงกฎเกณฑ์ไม่ใช้ทฤษฎี(PostModern)
ทำงานแหวกกฎเดิมๆ(Swiss)
และอีกหลายข้อที่มีส่วนคล้ายกัน
เมื่อนำมาคิดดูแล้วประเด็นพวกนี้มันเป็นสิ่งที่ทำให้
ศิลปะเติบโตมาตั้งแต่อดีตและเดินหน้าต่อไปในอนาคต
ถ้าเมื่อก่อนพวกเรายังปั้นดินวาดสีน้ำมันอยู่อย่างเดียว
ตอนนี้คงไม่มีศิลปะแนวใหม่ๆหรือโปรแกรมทางงานศิลปะ
ต่างๆออกมาให้เราได้เห็นได้ใช้กัน
ส่วนประเด็นที่ผมหยิบออกมานั้น คิดว่าจะเป็นเรื่อง
การนำไปใช้งานได้จริง(functional)
ซึ่งผมคิดว่างานศิลปะถ้าหากนำไปใช้งานไม่ได้
มันก็คือการที่ไม่สามารถนำไปต่อยอด พัฒนาต่อไปได้
ต่อจากนี้ก็จะหยิบยกประเด็นมาสักจุดเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อ
จากที่ได้ฟังเพื่อนๆกลุ่มอื่นพูดคุยนำเสนอหัวข้อของกลุ่มตัวเองมาสองอาทิตย์
เมื่อนำมารวมกับหัวข้อของPhotomontage&Constructivism
พบว่าเหมือนมันจะมีบางอย่างเชื่อมกัน เช่น
การตัดทอนสิ่งไม่จำเป็นออก(Bauhaus)
เรียบง่ายแต่มีไอเดีย(Push-Pin)
กฏแห่งความเรียบง่าย(John Maeda)
หรือ
ไม่อิงกฎเกณฑ์ไม่ใช้ทฤษฎี(PostModern)
ทำงานแหวกกฎเดิมๆ(Swiss)
และอีกหลายข้อที่มีส่วนคล้ายกัน
เมื่อนำมาคิดดูแล้วประเด็นพวกนี้มันเป็นสิ่งที่ทำให้
ศิลปะเติบโตมาตั้งแต่อดีตและเดินหน้าต่อไปในอนาคต
ถ้าเมื่อก่อนพวกเรายังปั้นดินวาดสีน้ำมันอยู่อย่างเดียว
ตอนนี้คงไม่มีศิลปะแนวใหม่ๆหรือโปรแกรมทางงานศิลปะ
ต่างๆออกมาให้เราได้เห็นได้ใช้กัน
ส่วนประเด็นที่ผมหยิบออกมานั้น คิดว่าจะเป็นเรื่อง
การนำไปใช้งานได้จริง(functional)
ซึ่งผมคิดว่างานศิลปะถ้าหากนำไปใช้งานไม่ได้
มันก็คือการที่ไม่สามารถนำไปต่อยอด พัฒนาต่อไปได้
วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
misc : OLAY Ad
วันเสาร์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปดูงานของADCที่ห้องศิลป์ของมหาวิทยาลัย
เดินๆดูก็มีงานที่น่าสนใจ แต่ที่ดูไม่ค่อยเข้าใจก็มี แต่อันที่ชอบที่สุดคืออันนี้ครับ
(เผอิญว่าไม่ได้เอากล้องไปเลยไม่ได้ถ่ายภาพมา เลยทำรูปขึ้นมาเอง)
เป็นAdของOLAY Total Effectที่มีgimmickโดยไม่ได้แสดงสรรพคุณของตัวสินค้า
โดยตรงและไม่เน้นBrand แต่ใช้คำพูดที่ชวนให้ผู้อ่านคิดถึงสรรพคุณของตัวสินค้า
เช่น"Seriously, I'm 47 years old." ผมคิดว่าคนฟังคงคิดว่าผู้พูดยังสาวอยู่ แต่จริงๆ
อายุ47แล้ว แสดงว่าOLAYสามารถโกงอายุให้ผู้ใช้ได้ หรือ"Wait a second, I've my
ID here somewhere"ดูแล้วเป็นเหตุการณ์บริเวณทางตรวจผู้โดยสารหรือที่ไหนสักแห่ง
ที่ต้องตรวจสอบรูปบนบัตรให้ตรงกับหน้า ซึ่งกรณีนี้ผู้ตรวจคงไม่เชื่อว่าเป็นคนๆเดียวกับ
ในรูปอาจเพราะผิวที่ขาวดูดีมีชีวิตชีวากว่าในรูปเพราะใช้OLAYทำให้ต้องเอาID card
มาพิสูจน์
ลูกเล่นอีกอย่างคือการเอาตัวสินค้าที่มีลักษณะคล้ายกันมาแทนที่เครื่องหมาย( " )
เดินๆดูก็มีงานที่น่าสนใจ แต่ที่ดูไม่ค่อยเข้าใจก็มี แต่อันที่ชอบที่สุดคืออันนี้ครับ
(เผอิญว่าไม่ได้เอากล้องไปเลยไม่ได้ถ่ายภาพมา เลยทำรูปขึ้นมาเอง)
เป็นAdของOLAY Total Effectที่มีgimmickโดยไม่ได้แสดงสรรพคุณของตัวสินค้า
โดยตรงและไม่เน้นBrand แต่ใช้คำพูดที่ชวนให้ผู้อ่านคิดถึงสรรพคุณของตัวสินค้า
เช่น"Seriously, I'm 47 years old." ผมคิดว่าคนฟังคงคิดว่าผู้พูดยังสาวอยู่ แต่จริงๆ
อายุ47แล้ว แสดงว่าOLAYสามารถโกงอายุให้ผู้ใช้ได้ หรือ"Wait a second, I've my
ID here somewhere"ดูแล้วเป็นเหตุการณ์บริเวณทางตรวจผู้โดยสารหรือที่ไหนสักแห่ง
ที่ต้องตรวจสอบรูปบนบัตรให้ตรงกับหน้า ซึ่งกรณีนี้ผู้ตรวจคงไม่เชื่อว่าเป็นคนๆเดียวกับ
ในรูปอาจเพราะผิวที่ขาวดูดีมีชีวิตชีวากว่าในรูปเพราะใช้OLAYทำให้ต้องเอาID card
มาพิสูจน์
ลูกเล่นอีกอย่างคือการเอาตัวสินค้าที่มีลักษณะคล้ายกันมาแทนที่เครื่องหมาย( " )
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
Lesson III : Why Photomontage?
อาทิตย์นี้จะพูดต่อจากของอาทิตย์ที่แล้วคือPhotomontage and Constructivists
ครั้งที่แล้วก็น่าจะทราบกันไปแล้วว่าConstructivismเป็นกลุ่มที่สร้างงานแบบโครงสร้างโดยนำเอาไมและเหล็กมาประกอบเป็นชิ้นงาน แล้วทำไมกลุ่มที่ทำงานสามมิติที่เหมือนการก่อสร้างแบบนี้ถึงกลายไปเป้นผู้สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายที่เป็นสองมิติได้? ครั้งนี้เราจะมาศึกษาเรื่องนี้กัน
ก่อนอื่นต้องย้อนกลับไปมองถึงจุดมุ่งหมายของกลุ่มConstructivismก่อน
จากที่ศึกษามาได้ความว่ากลุ่มนี้ตั้งเป้าที่จะไปมีบทบาทในวงการอุตสาหกรรม เช่น การออกแบบเครื่องเรือน ซึ่งกลุ่มConstructivismได้ออกแบบงานไว้มากมาย แต่มีแค่ส่วนน้อยที่สำเร็จออกมาเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์
เพราะอะไร?
คำตอบก็คือ ขาดแคลนวัตถุดิบที่จะนำมาสร้างงานนั่นเอง เพราะวัสดุที่พวกเขานำมาใช้นั้นได้รับมาจากกิจกรรมต่างๆของพวกโซเวียต เมื่อมีขาดแคลนวัสดุและเครื่องไม้เครื่องมือ ขอบเขตของการทำงานก็โดนจำกัดอยู่ในพื้นที่จำกัดเช่นใน สตูดิโอ ทำให้โอกาสในการได้รับประสบการณ์และข้อคิดเห็นต่างๆในผลงานน้อยลง
มีศิลปินเพียงไม่กี่คนในกลุ่มนี้ที่สามารถเข้าไปมีบทบาทในงานผลิตของวงการอุตสาหกรรมแต่อย่างไรก็ตามงานออกแบบที่พวกเขาสร้างออกมานั้นแทนที่จะเป็นที่ยอมรับในสังคมทั่วไปกลับไปมีบทบาทอยู่ในเฉพาะโรงละครเท่านั้นทั้ง อุปกรณ์ประกอบฉาก เสื้อผ้า
เมื่อล้มเหลวในเป้าหมายหลักคือการแสดงบทบาททางอุตสาหกรรมการผลิตกลุ่มConstructivismก็ได้ลดมุมมองลงมาพิจารณาถึงงานออกแบบสองมิติเช่นTypography, Graphic Design ซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์งานPhotomontage
ครั้งที่แล้วก็น่าจะทราบกันไปแล้วว่าConstructivismเป็นกลุ่มที่สร้างงานแบบโครงสร้างโดยนำเอาไมและเหล็กมาประกอบเป็นชิ้นงาน แล้วทำไมกลุ่มที่ทำงานสามมิติที่เหมือนการก่อสร้างแบบนี้ถึงกลายไปเป้นผู้สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายที่เป็นสองมิติได้? ครั้งนี้เราจะมาศึกษาเรื่องนี้กัน
ก่อนอื่นต้องย้อนกลับไปมองถึงจุดมุ่งหมายของกลุ่มConstructivismก่อน
จากที่ศึกษามาได้ความว่ากลุ่มนี้ตั้งเป้าที่จะไปมีบทบาทในวงการอุตสาหกรรม เช่น การออกแบบเครื่องเรือน ซึ่งกลุ่มConstructivismได้ออกแบบงานไว้มากมาย แต่มีแค่ส่วนน้อยที่สำเร็จออกมาเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์
เพราะอะไร?
คำตอบก็คือ ขาดแคลนวัตถุดิบที่จะนำมาสร้างงานนั่นเอง เพราะวัสดุที่พวกเขานำมาใช้นั้นได้รับมาจากกิจกรรมต่างๆของพวกโซเวียต เมื่อมีขาดแคลนวัสดุและเครื่องไม้เครื่องมือ ขอบเขตของการทำงานก็โดนจำกัดอยู่ในพื้นที่จำกัดเช่นใน สตูดิโอ ทำให้โอกาสในการได้รับประสบการณ์และข้อคิดเห็นต่างๆในผลงานน้อยลง
มีศิลปินเพียงไม่กี่คนในกลุ่มนี้ที่สามารถเข้าไปมีบทบาทในงานผลิตของวงการอุตสาหกรรมแต่อย่างไรก็ตามงานออกแบบที่พวกเขาสร้างออกมานั้นแทนที่จะเป็นที่ยอมรับในสังคมทั่วไปกลับไปมีบทบาทอยู่ในเฉพาะโรงละครเท่านั้นทั้ง อุปกรณ์ประกอบฉาก เสื้อผ้า
เมื่อล้มเหลวในเป้าหมายหลักคือการแสดงบทบาททางอุตสาหกรรมการผลิตกลุ่มConstructivismก็ได้ลดมุมมองลงมาพิจารณาถึงงานออกแบบสองมิติเช่นTypography, Graphic Design ซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์งานPhotomontage
วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
Lesson II: Photomontage and Russian Constructivists
แปลเป็นไทยก็คือ ศิลปะภาพตัดต่อด้วยรูปถ่าย และ กลุ่มศิลปินconstructivists
สืบเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละสามคนและกำหนดหัวข้อให้กลุ่มละหนึ่งหัวข้อแล้วให้ไปศึกษาหัวข้อนั้นมา ซึ่งกลุ่มพวกเราก็ได้หัวข้อที่ว่ามาข้างต้นเมื่อได้รับงานมาเรียบร้อยแล้ววันต่อมาพวกเราก็ไปห้องสมุดเพื่อหาข้อมูลกัน หนังสือที่เลือกมาคือ 'Photomontage A Step- by-Step Guide to BuildingPictures'-STEPHEN GOLDING, 'RUSSIAN CONSTRUCTIVISM'-CHISTINA LODDER ส่วนเล่มอื่นจำชื่อไม่ได้แล้วเพราะคืนไปแล้ว เพราะเป็นภาษาอังกฤษทั้งเล่มอ่านไปไม่กี่หน้าก็เล่นเอามึนก็เลยไปหาข้อมูลจากอินเตอร์เนตเพิ่มเติมเช่น wikipedia, google ซึ่งไม่ค่อยจะเจอเนื้อหาภาษาไทยเลยก็ต้องมาเปิดดิกแปลฉบับอังกฤษกัน(แปลกันตาย)
ก่อนอื่นก็ต้องพูดถึงConstructivismและConstructivistsก่อน Constructivismก็คือกลุ่มขบวนการทางศิลปะที่เกิดขึ้นในรัสเซียหลังสงครามโลกครั้งที่1 ที่สนใจในวิทยาการและเทคโนโลยี ยอมรับค่านิยมของผู้บริโภคและบทบาทความเคลื่อนไหวของระบบเศรษฐกิจวัสดุ มักนำเอาวัสดุที่ใช้ในระบบอุตสาหกรรมมาสร้างเป็นผลงานในเชิงนามธรรม ส่วนConstructivistsก็คือคำที่ใช้เรียกศิลปินในกลุ่มนี้ กลุ่มConstructivismนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปี1919เป็นต้นมา ซึ่งผู้ที่คิดคำนี้ขึ้นมาใช้คือ Naum Gabo และAntoine Pevsner โดยคำนิยามของConstructivismคือ การรวมกันระหว่างfaktura (คุณลักษณะทางสสารของวัตถุ)และ tektonika(การมีอยู่ของบริเวณว่าง) ซึ่งงานในช่วงแรกๆนั้นจะเป็นงาน3มิติ ภายหลังจึงขยายมาสุ่งาน2มิติ เช่นพวก โปสเตอร์ และ หนังสือ ซึ่งก็จะไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะพูดต่อไปก็คือ photomontageนั่นเองครับ
Photomontageก็คือ การสร้างรูปถ่ายโดยการตัดต่อบางส่วนของรูปถ่ายหลายๆรูปมาประกอบกันเป็นภาพใหม่ ซึ่งบางครั้งรูปจะถูกนำมาถ่ายใหม่อีกครั้ง งานที่ได้จึงมักจะไม่มีรอยต่อของภาพ ก็คล้ายๆกับโปรแกรมตัดต่อภาพหรือPhotoshopที่เราใช้ๆกันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง โดยศิลปินในกลุ่มConstructivismนั้นเป็นพวกแรกๆที่ริเริ่มการใช้เทคนิกนี้เช่นงาน 'Lenin and Electrification' ของ Gustav Klutsis งานของกลุ่มนี้จะแตกต่างจากของกลุ่มDadaismตรงที่งานของDadaนั้นจะแสดงถึงการทำลายมากกว่า
พูดเรื่องที่เป็นหัวข้อนำเสนอไปแล้วคราวนี้มาต่อนอกเรื่องบ้าง ตอนที่ศึกษาข้อมูลConstructivistsก็ไปเจองานที่น่าสนใจงานนึงคืองาน Black Square ของ Kazimir Malevich
บางคนสงสัยว่ามันยอดเยี่ยมตรงไหน งานนี้ความยอดเยี่ยมไม่ได้อยู่ที่ตัวภาพครับ แต่ความพิเศษของมันอยู่ที่ตำแหน่งการวางงานเพื่อเสนองานของKazimir ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า บ้านของพวกนับถือศาสนาในรัสเซียนั้นตรงบริเวณมุมห้องติดระเบียงจะมีการวางรูปสลักของพระเยซูคริสต์อยู่ ซึ่งห้องที่จัดแสดงงานของKazimirนั้นก็เป็นห้องแบบที่ว่า และKazimirได้นำงานนี้ไปตั้งไว้ตรงมุมห้อง ขณะที่รูปสลักพระเยซูที่ถูกตรึงกางเขนอยู่นั้นได้ก้มหน้าลงเบื้องล่างทำให้ดูเหมือนพระองค์กำลังจ้องมองงานของKazimir อยู่ ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่างานชิ้นนี้ยอดเยี่ยมขนาดพระเจ้ายังต้องเหลียวมองอะไรประมาณนั้น จากตัวอย่างนี้ทำให้เห็นว่าบางครั้งการถ่ายทอดความคิดผ่านผลงานก็ไม่จำเป็นต้องมีความหมายอะไรในผลงานมากนักมันขึ้นอยู่กับวิธีนำเสนอให้ผู้รับชมเกิดความคิดมากกว่า
สำหรับสัปดาห์นี้พอเพียงเท่านี้ก่อนแล้วกันเกิดมาเพิ่งจะเคยอัพblog
เอาไว้ค่อยๆศึกษาไปเรื่อย แล้วจะทำให้ดีขึ้นกว่านี้ครับ
สืบเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละสามคนและกำหนดหัวข้อให้กลุ่มละหนึ่งหัวข้อแล้วให้ไปศึกษาหัวข้อนั้นมา ซึ่งกลุ่มพวกเราก็ได้หัวข้อที่ว่ามาข้างต้นเมื่อได้รับงานมาเรียบร้อยแล้ววันต่อมาพวกเราก็ไปห้องสมุดเพื่อหาข้อมูลกัน หนังสือที่เลือกมาคือ 'Photomontage A Step- by-Step Guide to BuildingPictures'-STEPHEN GOLDING, 'RUSSIAN CONSTRUCTIVISM'-CHISTINA LODDER ส่วนเล่มอื่นจำชื่อไม่ได้แล้วเพราะคืนไปแล้ว เพราะเป็นภาษาอังกฤษทั้งเล่มอ่านไปไม่กี่หน้าก็เล่นเอามึนก็เลยไปหาข้อมูลจากอินเตอร์เนตเพิ่มเติมเช่น wikipedia, google ซึ่งไม่ค่อยจะเจอเนื้อหาภาษาไทยเลยก็ต้องมาเปิดดิกแปลฉบับอังกฤษกัน(แปลกันตาย)
ก่อนอื่นก็ต้องพูดถึงConstructivismและConstructivistsก่อน Constructivismก็คือกลุ่มขบวนการทางศิลปะที่เกิดขึ้นในรัสเซียหลังสงครามโลกครั้งที่1 ที่สนใจในวิทยาการและเทคโนโลยี ยอมรับค่านิยมของผู้บริโภคและบทบาทความเคลื่อนไหวของระบบเศรษฐกิจวัสดุ มักนำเอาวัสดุที่ใช้ในระบบอุตสาหกรรมมาสร้างเป็นผลงานในเชิงนามธรรม ส่วนConstructivistsก็คือคำที่ใช้เรียกศิลปินในกลุ่มนี้ กลุ่มConstructivismนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปี1919เป็นต้นมา ซึ่งผู้ที่คิดคำนี้ขึ้นมาใช้คือ Naum Gabo และAntoine Pevsner โดยคำนิยามของConstructivismคือ การรวมกันระหว่างfaktura (คุณลักษณะทางสสารของวัตถุ)และ tektonika(การมีอยู่ของบริเวณว่าง) ซึ่งงานในช่วงแรกๆนั้นจะเป็นงาน3มิติ ภายหลังจึงขยายมาสุ่งาน2มิติ เช่นพวก โปสเตอร์ และ หนังสือ ซึ่งก็จะไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะพูดต่อไปก็คือ photomontageนั่นเองครับ
Photomontageก็คือ การสร้างรูปถ่ายโดยการตัดต่อบางส่วนของรูปถ่ายหลายๆรูปมาประกอบกันเป็นภาพใหม่ ซึ่งบางครั้งรูปจะถูกนำมาถ่ายใหม่อีกครั้ง งานที่ได้จึงมักจะไม่มีรอยต่อของภาพ ก็คล้ายๆกับโปรแกรมตัดต่อภาพหรือPhotoshopที่เราใช้ๆกันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง โดยศิลปินในกลุ่มConstructivismนั้นเป็นพวกแรกๆที่ริเริ่มการใช้เทคนิกนี้เช่นงาน 'Lenin and Electrification' ของ Gustav Klutsis งานของกลุ่มนี้จะแตกต่างจากของกลุ่มDadaismตรงที่งานของDadaนั้นจะแสดงถึงการทำลายมากกว่า
พูดเรื่องที่เป็นหัวข้อนำเสนอไปแล้วคราวนี้มาต่อนอกเรื่องบ้าง ตอนที่ศึกษาข้อมูลConstructivistsก็ไปเจองานที่น่าสนใจงานนึงคืองาน Black Square ของ Kazimir Malevich
บางคนสงสัยว่ามันยอดเยี่ยมตรงไหน งานนี้ความยอดเยี่ยมไม่ได้อยู่ที่ตัวภาพครับ แต่ความพิเศษของมันอยู่ที่ตำแหน่งการวางงานเพื่อเสนองานของKazimir ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า บ้านของพวกนับถือศาสนาในรัสเซียนั้นตรงบริเวณมุมห้องติดระเบียงจะมีการวางรูปสลักของพระเยซูคริสต์อยู่ ซึ่งห้องที่จัดแสดงงานของKazimirนั้นก็เป็นห้องแบบที่ว่า และKazimirได้นำงานนี้ไปตั้งไว้ตรงมุมห้อง ขณะที่รูปสลักพระเยซูที่ถูกตรึงกางเขนอยู่นั้นได้ก้มหน้าลงเบื้องล่างทำให้ดูเหมือนพระองค์กำลังจ้องมองงานของKazimir อยู่ ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่างานชิ้นนี้ยอดเยี่ยมขนาดพระเจ้ายังต้องเหลียวมองอะไรประมาณนั้น จากตัวอย่างนี้ทำให้เห็นว่าบางครั้งการถ่ายทอดความคิดผ่านผลงานก็ไม่จำเป็นต้องมีความหมายอะไรในผลงานมากนักมันขึ้นอยู่กับวิธีนำเสนอให้ผู้รับชมเกิดความคิดมากกว่า
สำหรับสัปดาห์นี้พอเพียงเท่านี้ก่อนแล้วกันเกิดมาเพิ่งจะเคยอัพblog
เอาไว้ค่อยๆศึกษาไปเรื่อย แล้วจะทำให้ดีขึ้นกว่านี้ครับ
วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
Lesson I : Semester 2 !!
ในที่สุดก็ขึ้นภาคการศึกษาที่สองของปีสามจนได้ครับ
อีกไม่นานก็จะได้ฝึกงานแล้ว แต่ตอนนี้มาเข้าเรื่องปัจจุบันก่อน
เมื่อเริ่มสัปดาห์แรกของภาคการศึกษาก็เป็นธรรมดาที่จะไม่ค่อยมีการเรียนการสอนมากนัก
ส่วนใหญ่จะเป็นการพูดคุยระหว่างอาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับวิชาที่จะเรียนและตกลงเรื่อง
การเรียนการสอนครับ
ซึ่งในภาคการศึกษานี้อาจารย์สอนวิชาCommunicationDesignIVท่านได้เสนอให้นักศึกษา
ทุกคนในชั้นเรียนสร้างblogของตัวเองขึ้นมาเพื่อใช้ส่งงานและอัพเดทข้อมูลต่างๆที่น่าสนใจ
ที่นักศึกษาได้ไปพบเจอมาในช่วงภาคการศึกษานี้ ซึ่งก็คือBlogที่ทุกๆท่านกำลังอ่านกันอยู่นี่
แหละครับ(เพื่อนในชั้นคนไหนอ่านแล้ว addด้วยไม่addแช่งแ_่ม)
สัปดาห์แรกก็ยังไม่มีอะไรมากเอาไว้แค่นี้ก่อนละกันครับ(ง่วงว้อย)
อีกไม่นานก็จะได้ฝึกงานแล้ว แต่ตอนนี้มาเข้าเรื่องปัจจุบันก่อน
เมื่อเริ่มสัปดาห์แรกของภาคการศึกษาก็เป็นธรรมดาที่จะไม่ค่อยมีการเรียนการสอนมากนัก
ส่วนใหญ่จะเป็นการพูดคุยระหว่างอาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับวิชาที่จะเรียนและตกลงเรื่อง
การเรียนการสอนครับ
ซึ่งในภาคการศึกษานี้อาจารย์สอนวิชาCommunicationDesignIVท่านได้เสนอให้นักศึกษา
ทุกคนในชั้นเรียนสร้างblogของตัวเองขึ้นมาเพื่อใช้ส่งงานและอัพเดทข้อมูลต่างๆที่น่าสนใจ
ที่นักศึกษาได้ไปพบเจอมาในช่วงภาคการศึกษานี้ ซึ่งก็คือBlogที่ทุกๆท่านกำลังอ่านกันอยู่นี่
แหละครับ(เพื่อนในชั้นคนไหนอ่านแล้ว addด้วยไม่addแช่งแ_่ม)
สัปดาห์แรกก็ยังไม่มีอะไรมากเอาไว้แค่นี้ก่อนละกันครับ(ง่วงว้อย)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)